กองคลัง
มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ดําเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของกรม
(๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ มอบหมาย
กองคลัง โครงสร้างการแบ่งหน่วยงานภายใน ดังนี้
๑. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
( ๑ ) งานธุรการ และงานสารบรรณ (รับ ส่ง ร่าง โต้ตอบ เก็บ ค้น และพิมพ์) ของกอง
( ๒ ) งานงบประมาณ การเงิน บัญชี พัสดุและครุภัณฑ์ ของกอง
( ๓ ) รวบรวมจัดทำสถิติและรายงานของกอง
( ๔ ) งานบริหารงานบุคคลของกอง
( ๕ ) การประสานงานทั่วไป และงานอื่น 1 ตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายการเงิน มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
( ๑ ) ตรวจสอบเอกสารและหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงิน
( ๒) เก็บรักษาและรับจ่ายเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ
( ๓) ดำเนินการขอกันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี และขอขยายการกันเงิน
( ๔ ) จัดทำฎีกาเบิกเงิน
( ๕ ) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายบัญชีและงบประมาณ มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
( ๑ ) วิเคราะห์ต้นทุนผลผลิตของหน่วยงาน วางแผนและประเมินผลการจัดการทางการเงินของกรม
( ๒ ) รวบรวม วิเคราะห์ และจัดทำ งบประมาณรายได้ และรายจ่ายของกรม
( ๓ ) ขออนุมัติเงินประจำงวด โอนเปลี่ยนแปลงเงินงบประมาณ
( ๔ ) จัดทำบัญชีงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ
( ๕ ) จัดทำงบเงินเดือนใบสำคัญแสดงการจ่ายเงิน
( ๖ ) ตรวจสอบงบและรายงานบัญชีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
( ๔) ติดตามและรายงานสถานะการดำเนินงานทางการเงินการคลังผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แบบ Online
Real – Time เพื่อการวางแผนและการตัดสินใจ
( ๔ ให้คำปรึกษา แนะนำ แก้ไขปัญหาอุปสรรคให้ศูนย์ต้นทุนต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาค
( ๙ ) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายพัสดุและยานพาหนะ มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
( ๑ ) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลในงานพัสดุ เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของพัสดุ
(๒ ) วิเคราะห์และสรุปข้อมูลทางด้านงานพัสดุ เพื่อจัดทำคู่มือปฏิบัติงานด้านพัสดุ
( ๓ ) ตรวจสอบ ประเมินและสรุปการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่างๆ
( ๔ ) วิเคราะห์ และจัดทำรายละเอียดบัญชี หรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะของพัสดุ
เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
( ๕ ) ควบคุมการซ่อมทำและดูแลรักษาพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะในครอบครองเพื่อให้มีสภาพ
พร้อมใช้งาน
( ๖ ) จำหน่ายพัสดุชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นในการใช้งานของทางราชการอีกต่อไปเพื่อให้พัสดุเกิด
ประโยชน์ต่อทางราชการมากที่สุด
( ๗ ) บันทึกข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government
Procurement : e.GP) และบันทึกข้อมูลใบสั่งซื้อสั่งจ้างในระบบ GFMIS (Government Fiscal
Management System)
( ๘ ) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย